" บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม "

^______^ ขอบคุณ สำหรับการติดตาม ...

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารเสริมบำรุงผิว

       คุณสมบัติดังกล่าวที่มีอยู่ในอาหารเสริมเพื่อผิวสวยชั้นนำทรงประสิทธิภาพ ให้ผลลัพธ์ที่ดีและรวดเร็วกว่าในการลดริ้วรอยหมองคล้ำเหี่ยวย่น พร้อมกับบำรุงผิวให้ขาวเนียน เปล่งปลั่ง กระจ่างใส ดูอ่อนวัย มีชีวิตชีวาอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน สารอาหารสำคัญที่มีคุณค่าจำเป็นต่อการบำรุงผิวครบถ้วนทั้ง 6 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น

 1. โปรตีนจากปลาทะเลลึก (Marine Protein)
แถบประเทศนอร์เวย์ประกอบด้วยอณูอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย 18 ชนิด และมีอณูอะมิโนชนิดพิเศษคือ Peptoaminoglycan ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอิลาสตินทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอันจะช่วยให้ผิวแต่งตึง เปล่งปลั่ง กระชับ เรียบเนียน และนวลนุ่มชุ่มชื่น

 2. โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q 10)
สารอาหารช่วยเสริมพลังงานให้กับเซลล์ผิวต้านอนุมูลอิสระต้นเหตุของการเสื่อมสภาพและแก่ก่อนวัยของเซลล์ต่าง ๆ ทั้งยังช่วยลดและชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยที่เกิดจากแสงแดดช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์สดใสมีชีวิตชีวา

 3. สารสกัดจากเปลือกสนมาริไทม์ฝรั่งเศส (French Maritime Pine Bark) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างยิ่งยวด (Super Antioxidant) ช่วยต้านความชราของผิวพรรณยับยั้งการเกิดเม็ดสีที่ผิดปกติต้นเหตุของฝ้า กระ ความหมองคล้ำ ทำให้ผิวขาวเนียนสดใส และมีเลือดฝาด


 4. วิตามินซี (Vitamin C)
สารต้านอนุมูลอิสระลดอาการหมองคล้ำ ความร่วงโรย เสริมสร้างปริมาณและความแข็งแรงของคอลลาเจน ช่วยให้โครงสร้างผิวพรรณแข็งแรงสุขภาพดีมีความยืดหยุ่นกระชับและขาวเนียนใส

 5. วิตามินอี (Vitamin E)
สารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งยับยั้งความเสื่อมชราของเซลล์ต่าง ๆ ช่วยให้ผิวพรรณเนียนนุ่มชุ่มชื่น สดใสและดูอ่อนวัย

6. สารสกัดจากชาเขียว (Green Tea Extract) มีสาระสำคัญคือ คาเตซินช่วยต้านอนุมูลอิสระทำให้กลไกในการฟื้นฟูสภาพผิวทำงานได้ดีสามารถขับถ่ายและล้างพิษออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น


ที่มา : http://www.n3k.in.th

วิตามิน : มากเกินไปอาจเป็นอันตราย

       คนส่วนใหญ่จะกินอาหารเสริมประเภทวิตามินด้วยความเชื่อว่าจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น แต่นักวิจัยไม่ได้ระบุว่าวิตามินสามารถป้องกันโรคต่างๆได้หากเราบริโภคเป็นจำนวนมาก วงการแพทย์ในปัจจุบันยังเป็นห่วงด้วยว่า ถ้ามีคนบริโภควิตามินในปริมาณมากเกินไป เป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะได้รับวิตามินและเกลือแร่บางชนิดในขนาดสูงเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ดังนั้นเราควรบริโภคให้พอเหมาะกับที่ร่างกายเราต้องการ วิตามินที่สำคัญที่เราควรบริโภคมีดังนี้

๑.วิตามินเอ ส่วนมากพบมากในตับ และอยู่ในนมบ้างเล็กน้อย(บางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผสมในเนยเทียม) ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า"อาหารที่ผสมวิตามินรวมบางชนิด เช่น ธัญพืช อาจมีวิตามินเอมากเกินไป" วิตามินเอแตกต่างจากวิตามินซีตรงที่วิตามินซีละลายในน้ำและถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ แต่วิตามินเอจะสะสมอยู่ในร่างกายหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ผู้ที่ได้รับวิตามินเอในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

๒.วิตามินซีและอี วิตามินสองชนิดนี้มีผู้นิยมกินกันมาก ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าถ้ากินเข้าไปมากๆจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายแต่ความจริงแล้วถ้าเรากินวิตามินทั้งสองชนิดนี้เข้าไปในปริมาณมากมีโอกาสเป็น "โรคเส้นโลหิตในสมอง"

๓.ธาตุเหล็ก มีความสำคัญต่อการลำเลียงออกซิเจนสู่กระแสเลือด การสร้างพลังงานและภูมิต้านทาน แหล่งอาหาร ตับ เนื้อสัตว์ ถั่ว ธัญพืชที่มีการเสริมธาตุเหล็ก ผักใบเขียวเข้มผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการชีวะเกลือแร่แห่งมหาวิทยาลัยทัฟต์ บอกว่าผู้ที่มีธาตุเหล็กสูงเกินไปมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ

๔.วิตามินบี 6 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างโปรตีน ฮอร์โมนและเซลล์เม็ดเลือดแดง แหล่งอาหาร เนื้อไก่ กล้วย ถั่วเหลือง เนื้อปลา นม ข้าวซ้อมมือ ตับและมันฝรั่ง

๕.เบตาแคโรทีน เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ แหล่งอาหาร ผักใบเขียวและผลไม้ที่เป็นสีเหลือง

๖.ทองแดง เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจนโปรตีนในกระดูก ผิวหนังและเนื้อเยื่อข้อต่อ แหล่งอาหาร ถั่ว เครื่องในสัตว์และสัตว์น้ำที่มีเปลือก(เช่น กุ้ง หอย ปู)

๗.สังกะสี มีความสำคัญต่อระบบทำงานต่างๆมากมาย เช่น การเติบโตของเซลล์และระบบภูมิต้านทาน แหล่งอาหาร เนื้อปลา เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลัตภัณฑ์จากธัญพืชต่างๆและผักใบเขียว



วิตามินดี

วิตามินดี

 (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี


ประโยชน์ต่อร่างกาย
  1. วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
  2. วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึมกลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
  3. ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
  4. ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้เพราะมิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
  5. เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
  6. ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
  7. เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
  8. เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
  9. หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับการมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย






น้ำสมุนไพร

ผลไม้ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

วิตามินซี

วิตามินซี 








(อังกฤษvitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษL-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษL-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้


ประโยชน์

  • เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
  • ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
  • ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยคลายเครียด
  • การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามินอาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้ 


แหล่งวิตามินซี
แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก
ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสียอ
บางข้อมูลแนะนำว่าขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง


วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12  (COBALAMIN) 




ร่างกายต้องการ วิตามินบี 12  สำหรับการสังเคราะห์ RNA DNA และการเจริญเติบโตตามปรกติของเม็ดเลือดแดง  วิตามินบี 12  มีผลต่อการดูดซึมและการใช้โฟเลทในร่างกาย สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ไม่ทนต่อกรด หรือด่างแก่และแสง อาหารที่มีวิตามิน บี12 ได้แก่ ตับ ไต เนื้อ เนื้อหมู ปลาเค็ม ปลาหมึก น้ำปลา เนื้อแกะ ปลาเนื้อขาว หอย ไข่ นม เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต รำข้าว ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เมล็ดแห้ง ถั่วหมัก (ถั่วเน่า) เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว และผักใบสีเขียวแก่ แต่มีมากใน ไต กล้าม เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารพวกนม เนย และเป็นที่น่าสังเกตว่า วิตามินชนิดนี้จะพบในสัตว์มากกว่าในพืช วิตามิน บี12เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฎิกิริยาการสังเคราะห์ DNA (Deoxyribonycleic Acid) , วิตามินบี 12  มีความเกี่ยวพันธ์ในการทำงานใกล้ชิดกับกรดอะมิโน กรดแพนโทเธ็นทิคและวิตามิน ซี มีความจำเป็นสำหรับสร้างเม็ดโลหิตแดง ,เป็นสิ่งจำเป็นในการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต , ช่วยทำให้เหล็กทำงานได้ดีขึ้นในร่างกาย , ช่วยการสังเคราะห์เมไทโอนีน และโคลีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับ (Lipotropic Factors)ช่วยในการนำวิตามิน เอ ไปไว้ที่ตามเนื้อหนังของร่างกาย ,ช่วยให้มีความกระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า, มีหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน ซึ่งช่วยในการรักษาสภาพของแผ่นพังผืด ที่เป็นชั้นห่อเส้นประสาท (Myelin Sheet) , ทำหน้าที่เก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ,ทำหน้าที่ละลายพิษของสารไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นยาพิษอย่างแรง อาจพบในอาหารและบุหรี่ ถ้าขาดวิตามิน บี12 ทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงสาเหตุส่วนใหญ่จะเนื่องมาจากการที่ร่างกาย ไม่สามารถดูดวิตามินได้ , ปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งมีผลต่อการขนส่งและการดูดซึมวิตามิน , บุคคลที่รับประทานอาหารมังสวิรัตที่เคร่งครัด , การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออก การเป็นโรคท้องเสียเรื้อรัง หรือเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้เสื่อม ทำให้มีการดูดซึมผิดปกติได้ ถ้าได้รับวิตามิน บี12 มากจะกระตุ้นการสลายตัวของกรดนิวคลีอิก ทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้น จึงควรระวังในผู้ป่วยโรค gout





 ประโยชน์ต่อร่างกาย
          o ใน ไขกระดูก  วิตามินบี 12  จะมีหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฎิกิริยาการสังเคราะห์ DNA (Deoxyribonycleic Acid) เพราะถ้าไม่มีการสังเคราะห์ DNA เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงจะไม่เกิดการแบ่งเซลล์แต่จะขยายใหญ่ขึ้น กลายเป็นเซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Megaloblast) และจะถูกส่งเข้าสู่กระแสโลหิตแทนที่จะเป็นเม็ดเลือดแดงที่ปกติ
          o  วิตามินบี 12  มีความเกี่ยวพันในการทำงานใกล้ชิดกับกรดอะมิโน กรดแพนโท เธ็นทิคและวิตามิน ซี มีความจำเป็นสำหรับสร้างเม็ดโลหิตแดง
          o เป็นสิ่งจำเป็นในการเมแทบอลิซัมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
          o ช่วยทำให้เหล็กทำงานได้ดีขึ้นในร่างกาย
          o ช่วยการสังเคราะห์เมไทโอนีน และโคลีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับ (Lipotropic Factors)
          o มี ฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก Underdeveloped และ Undernourished เด็กพวกนี้มักขาด วิตามินบี 12  และวิตามินอย่างอื่นด้วย เมื่อให้ วิตามินบี 12 จะเพิ่มความอยากอาหาร กินอาหารได้มากขึ้น แต่ในเด็กที่เจริญเติบโตเป็นปกติไม่ขาดวิตามินนี้ การให้ วิตามินบี 12 จะไม่มีผล
          o ช่วยในการนำวิตามิน เอ ไปไว้ที่ตามเนื้อหนังของร่างกาย โดยการช่วยการดูดซึมแคโรทีน และการเปลี่ยนแคโรทีนเป็นวิตามิน เอ
          o ช่วยให้มีความกระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า
          o มีหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน ซึ่งช่วยในการรักษาสภาพของแผ่นพังผืด ที่เป็นชั้นห่อเส้นประสาท (Myelin Sheet)
          o ทำหน้าที่เก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ
          o ทำหน้าที่ละลายพิษของสารไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นยาพิษอย่างแรง อาจพบในอาหารและบุหรี่


    แหล่งที่พบ
          o ตับ ไต เนื้อ เนื้อหมู ปลาเค็ม ปลาหมึก น้ำปลา เนื้อแกะ ปลาเนื้อขาว หอย ไข่ นม เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต รำข้าว ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เมล็ดแห้ง ถั่วหมัก (ถั่วเน่า) เต้าเจี๊ยว ซีอิ๊ว และผักใบสีเขียวแก่ แต่มีมากใน ไต กล้าม เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารพวกนม เนย และเป็นที่น่าสังเกตว่า วิตามินชนิดนี้จะพบในสัตว์มากกว่าในพืช









ที่มา : http://www.nutritionthailand.com/nutrition

การทำน้ำข้าวกล้อง





ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=81fJZaotxRM

วิตามินบี 6


  • วิตามิน บี มีส่วนประกอบที่สำคัญ ชนิด คือ ไพริดอกซีน (Pyridoxine) ไพริดอกซาล (Pyridoxal) และไพริดอกซามัน (Pyridoxamine) มีสูตรโครงสร้างประกอบด้วยวงแหวนไพริดิน (Pyridine)วิตามิน บีหก ถ้าทำให้เป็นผลึกจะเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น มี รสเค็ม ละลายในน้ำได้ และละลายในสารละลายที่เป็นกรดและด่างปานกลาง แต่สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดด ไพริดอกซีน ทนต่อความร้อนมากกว่าไพริดอกซาลและไพริดอกซามิน วิตามิน บีจัดอยู่ในวิตามินประเภทละลายในน้ำ (Water- Soluble) เป็นสมาชิกสำคัญของวิตามิน บีรวม (B Complex) วิตามิน บีคงทนต่อความร้อนได้ดี และประมาณ 60 % ของวิตามิน บีในเลือดอยู่ในรูปของ Pyridoxal phosphate (PLP) เป็นโคเอนไซม์ที่ช่วยในปฎิกิริยาการเมแทบอลิซึม ของกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และกรดไขมันในร่างกาย 
ประโยชน์ต่อร่างกาย
  • เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้การดูดซึมของวิตามิน บี12 เข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ และสมบูรณ์
  • Decarboxylation ของกรดอะมิโนหรือเมตาบอลิซึมของไขมันและ กรดนิวคลิอิค (Nucleic acid)
  • ช่วยวิตามิน เอฟ (Linoleic acid หรือ Unsaturated fatty acid) ปฎิบัติหน้าที่ดีขึ้น
  • วิตามิน บีหก นี้เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ที่สำคัญตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เผาผลาญ และใช้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • การสร้างเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมน ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีผลต่อการควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อ
  • การสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนเฟอร์ไฟริน (porphyrinring) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเฮโมโกลบิน
  • การสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดกลูทามิก กรดแอสพาร์ทิก ในตับโดยอาศัยปฎิกิริยาเคลื่อนย้ายหมู่อะมิโน (Transamination)
  • ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดโลหิตแดง
  • ช่วยในการปล่อยน้ำตาล (Glycogen) จากตับและกล้ามเนื้อออกมาเป็นพลังงาน
  • ช่วนในการเปลี่ยนทริพโตฟาน (Tryptophan) เป็นไนอะซินหรือวิตามิน บีสาม
  • วิตามิน บีหก เป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์ และควบคุมการปฎิบัติหน้าที่ของ DNA และ RNA ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบ่งบอกพันธุกรรม
  • ช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
  • ป้องกันการคลื่นไส้ระหว่างตั้งครรภ์
  • มีผลในการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่าง ๆ โรคหัวใจ และเบาหวาน
  • มีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ป้องกันอาการตื่น และไม่สงบของประสาท นอนไม่หลับ
  • มีคุณสมบัติเป็นยาขับปัสสาวะธรรมชาติ
  • ช่วยลดอาการบวมในระยะก่อนมีประจำเดือน
แหล่งที่พบ
  • เมล็ดพืช เมล็ดพืชชั้นในทั้งหลาย เช่น เมล็ดแอพริคอท เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ เมล็ดถั่วอัลมอนด์และจำพวกเมล็ดพืชอื่นๆเช่น เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว และถั่วแมคคาดาเมีย

วิตามินบี 5

วิตามินบี 5 
หรือกรดแพนโทเธนิค (Pantothenic Acid) ไม่ค่อยคงทน ถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน กรด เช่น น้ำส้ม และด่าง เช่น โซดาสำหรับทำขนม หรือ Baking Soda  วิตามินบี 5 ในเนื้อสัตว์จะสูญหายไปขณะหุงต้มประมาณ 33% และในแป้งจะสูญหายไปประมาณ 50% ขณะขัดสีและบดเป็นแป้ง

ประโยชน์ต่อร่างกาย
- เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานของต่อมอะดรีนัล และช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนสำคัญ เพื่อรักษาสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท
- ช่วยในการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงาน
- ช่วยเปลี่ยนคอเลสเตอรอลเป็นฮอร์โมนสำหรับต่อต้านความเครียด ป้องกันอาการอ่อนเพลีย
- ช่วยในการป้องกันโรค และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
แหล่งที่พบ
วิตามิน บี 5 พบมากที่สุดในตับ รองลงมาได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อ
ปลา ถั่ว เมล็ดธัญพืช ไข่แดง บริวเวอร์ยีสต์ เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำ
การ ขาดวิตามินบี 5 เป็นไปได้ยากมาก การได้รับประมาณวันละ 4-7 
มิลลิกรัมก็เพียงพอแล้วสำหรับคนส่วนใหญ่
ผลของการขาด
ส่วน ใหญ่แล้วไม่พบว่ามีปัญหาใดเกิดขึ้นจากการขาดวิตามินบี 5 
เพียงอย่างเดียว อาการที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง ได้แก่ อาเจียน กระสับ
กระส่าย ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกร้อนที่เท้า (Burning Feet 
Syndrome) เป็นตะคริว อ่อนเพลีย หลับไม่สนิท ซึมเศร้า และหงุดหงิด
ผลของการได้รับมากเกินไป
วิตามิน บี 5 จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ และอีกส่วนน้อยทางเหงื่อ 
โดยปกติแล้ววิตามินบี 5 มักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ


วิตามินบี 3

วิตามินบี 3 


ส่วนใหญ่นิยมเรียกไนอะซิน (Niacinamide หรือ  Niacin) จัดเป็นวิตามินละลายในน้ำ เป็นวิตามินหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวม (B Complex) มีสภาพคงทนมากกว่า วิตามิน บีหนึ่ง และ บีสอง หลายเท่าตัว ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินบี 3 ได้โปรตีนเรียกว่า ทริพโตฟาน” (Tryptophan) ซึ่งเป็นสารต้นตอจะถูกเปลี่ยนภายในตับ วิตามิน บีและทริพโตฟาน (Tryptophan)                                                                                                                                             พบในเนื้อไม่มีมัน เป็ด ไก่ ปลา ตับ วัว กุ้งเจ่า ผลิตผลจากจมูกข้าวสาลี ข้าวสาลี ถั่วแห้ง ถั่วสด บริวเวอร์ ยีสต์ และผักสีเขียวต่าง ๆ โดยเฉพาะผักชะอม ผักกระถิน มะแว้ง ใบชะพลู ใบทองหลาง ใบยอ และเห็ด หน้าที่ต่อร่างกายช่วยน้ำย่อยในการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตและช่วยร่างกายในการใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ช่วยในการไหลเวียนของโลหิตภายในร่างกาย ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือด เป็นตัวสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท ให้ทำงานเป็นปกติ วิตามินบี 3 ควบคุมรักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อหนังในระบบการย่อย เป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนสืบพันธุ์ (Reproductive Hormone) ไฮรอกซินและอินซูลิน ช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้เจริญงอกงาม      
                                                                                                     
ถ้าขาดวิตามินบี 3 ผิวหนังอักเสบเป็นจ้ำ ๆ สีม่วง เรียกว่า เพลลากร้า (Pellagra) และเกิดการอักเสบของลิ้นมีอาการร้อนวูบวาบ และคันตามผิวหนังการทำงานของกระเพาะลำไส้ไม่อยากรับประทานอาหาร อาหารไม่ย่อย และระบบประสาทผิดปกติ เมื่อย ปวดประสาท และปลายประสาทอักเสบ (Neuritis) รู้สึกอ่อนเพลีย ซึมเศร้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง เหนื่อยง่าย หงุดหงิด นอนไม่หลับ หวาดกลัว ความจำเสื่อม คลุ้มคลั่ง เจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เป็นที่ แน่นอน น้ำหนักตัวลด ลิ้นเป็นฝ้า แผลเปื่อยเน่า ลมหายใจเหม็น ปวดศีรษะเรื้อ


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki

วิตามินบี 2


วิตามินบี 2 

หรือ Riboflavin เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ทนต่อกรด อากาศ และความร้อน แต่จะสลายตัวได้เร็วในด่างและแสงแดด
วิตามินบี 2 มีความจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์ ช่วยในการเผาผลาญอาหาร ประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต รักษาสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท บำรุงสายตา และช่วยให้เม็ดเลือดแดง คงสภาพ

แหล่งที่พบ

พบได้ในอาหารจำพวก นม เนย ไข่ ยีสต์ เนื้อสัตว์ ตับ ผักสีเขียว และแหล่งที่พบวิตามินบี 1 โดยนมจะมีปริมาณวิตามินบี 2 มากกว่า
วิตามินบี 1 ถึง 4 เท่า

ผลของการขาดวิตามินบี 2

คนกลุ่มที่อาจจะขาดวิตามินบี 2 ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง คนยากจน และผู้ที่ติดสุรา
เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 2 จะมีอาการแสดงทางตา ริมฝีปาก ลิ้น และผิวหนัง เริ่มด้วยริมฝีปากอักเสบ แห้งและแตก มุมปากจะซีด แตก เรียกลักษณะดังกล่าวว่า ปากนกกระจอก ลิ้นจะมีสีแดงปนม่วง เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการทางผิวหนัง ผิวหนังจะตกสะเก็ด รวมทั้งผมแห้งและร่วง ต่อมาจะมีอาการอักเสบของตา มีน้ำตามาก ตาสู้แสงไม่ได้ คันตา และแสบตา
ผลของการได้รับมากเกินไป

โดยทั่วไปแล้ว การได้รับวิตามินบี 2 ในปริมาณที่สูงกว่าค่า RDA มักไม่พบความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม อาจมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้จากการได้รับวิตามินบี 2 ในปริมาณที่สูงมากๆ ได้แก่ โรคหิด หมดสติ รู้สึกแสบร้อน และปัสสาวะมีสีเหลือง
สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์ ได้แก่ วิตามินบีรวม วิตามินบี 6 วิตามินบี 5 วิตามินบี 3 วิตามินซี
สารหรืออาหารต้านฤทธิ์ ได้แก่ สุรา ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน



ที่มา: http://www.novabizz.com/Health/Supplement/Vitamin_B2.htm

ข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูง






ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=oS0vIDu59wE

วิตามินบี 1

วิตามินบี 1

หรือ Thiamine เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญของระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท ถ้าร่างกายได้รับวิตามินบีหนึ่งไม่เพียงพอ จะทำให้เป็น โรคเหน็บชา โรคนี้เกิดได้กับบุคคล ทุกกลุ่มอายุ สำหรับเด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา ( Infantile beriberi) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศที่ประชาชนรับประทานข้าวที่สีแล้วเป็นอาหารหลัก โดยไม่รับอาหารอื่นที่มีวิตามินบี 1 เสริมอย่างเพียงพอ


แหล่งของวิตามินบี 1


ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 1 ได้ จำเป็นต้องได้จากอาหารแหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 1 มากได้แก่
จากสัตว์ : เนื้อหมู, ปลา, ไก่, ตับ, ไข่
จากพืช : ถั่วเมล็ด, เมล็ดข้าว ( whole grains)
ในอาหารจำพวกผักและผลไม้ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณของไธอะมินน้อย แต่ถ้าคิดจากที่กินในแต่ละวันแล้ว ร่างกายก็จะได้รับไธอะมินพอประมาณ


ที่มา :  http://nutrition.anamai.moph.go.th/b1.htm