" บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม "

^______^ ขอบคุณ สำหรับการติดตาม ...

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

สมการวิตามิน





ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=YU2-2gCLL9o&feature=related

วิตามินเม็ด ปลอดภัยจริงหรือไม่ ?

วิตามินเม็ด กินทำไม ปลอดภัยจริงหรือ? (หมอชาวบ้าน)


         ถ้าลองถามผู้ที่กินวิตามินเม็ดอยู่ทุกวันว่า กินทำไมกันก็ได้รับคำตอบว่า กินแล้วรู้สึกสบายดีบ้าง กินได้นอนหลับดีบ้าง กินบำรุงให้แข็งแรงขึ้น ความจำดีขึ้นบ้าง คนโน้นบอกว่าดี คนนี้ก็บอกว่าดี เลยกินตาม ๆ กัน


         ถามต่อว่ากินอยู่ทุกวันไม่กลัวอันตรายหรือ (ทีกินยาทุกวันกลัวว่ายาจะสะสม ตับไตจะพัง) ก็มักจะได้คำตอบว่า วิตามินเม็ดทำมาจากธรรมชาติจากอาหารปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ กินอาหารได้สารอาหารไม่ครบต้องกินเสริมให้แข็งแรงป้องกันโรคกิน 1 เม็ดเท่ากับกินผักผลไม้เป็นกิโล ๆ แน่ะกินแล้วไม่เห็นเป็นไรก็สบายดีนี่


         มีการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพมากกว่า 1 การศึกษาบอกว่า วิตามินหลาย ๆ ตัวที่กินกันอยู่ไม่ได้ผลในการป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด สมองเสี่อมไม่ได้ทำให้อายุยืนยาวขึ้นหรืออื่น ๆ เราจะยังกินหรือไม่? มีการศึกษาหลายการศึกษาบอกว่าวิตามินบางตัวที่เรา ๆ ท่าน ๆ กินกันอยู่เพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ไม่ได้กินเราจะยังกินต่อหรือเปล่า?


         เราใช้ความ "รู้" หรือความ "รู้สึก" ในการบอกว่าจะกินหรือไม่กินดี
วิตามินเอ วิตามินอี และบีตาแคโรทีน อาจเพิ่มโอกาสเสียชีวิต (Bjelakovic G. JAMA 2007;842-57)


          การรวบรวมการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม (randomized trials) 68 การศึกษา จากประชาการ 2 แสน 3 หมื่นกว่าคน (ทั้งคนปกติและเป็นโรคแล้ว) เพื่อดูว่าผลของการกินวิตามินเม็ด หรือสารต้านอนุมูลอิสระสกัดต่อการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับไม่ได้กิน หรือกินวิตามินหลอก (รูปลักษณ์เหมือนวิตามินเม็ดทุกอย่าง แต่ไม่มีวิตามินอยู่เพื่อผู้ทำวิจัยเก็บข้อมูลและผู้ป่วยจะไม่ทราบ ป้องกันการลำเอียงหรืออุปาทาน ในการเลือกให้วิตามินเม็ดและการแปลผล) ถ้ารวมการศึกษาทั้งลำเอียงมากและน้อย (high and low-bias trials) ไม่พบความแตกต่างในโอกาสเสียชีวิตของผู้ที่กินหรือไม่กินวิตามินเม็ด หรือสารต้านอนุมูลอิสระสกัด 


         แต่ถ้าดูเฉพาะการศึกษาที่มีคุณภาพการศึกษาที่ดี (ความลำเอียงน้อย) 47 การศึกษาในประชากร 1 แสน 8 หมื่นกว่าคนพบว่าการกินบีตาแคโรทีนในการศึกษา 6 การศึกษาเพิ่มโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 6 (95% CI 1.01-1.11) การกินวิตามินเอเดี่ยว ๆ หรือร่วมกับอาหารเสริมอื่น ยกเว้นซีลีเนียม (5การศึกษา) เพิ่มโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 16 (95% CI 1.10-1.24) และการกินวิตามินอี (26 การศึกษา) ก็เช่นเดียวกับวิตามินเอคือเพิ่มโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 4 (95% CI 1.01-1.07)




วิตามินอีไม่ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (Vivekananthan DP, Lancet 2003;361:2017)
         ตำราโรคหัวใจเล่มล่าสุด (Braunwald’s Heart Disease) ได้ตีพิมพ์ข้อสรุปจากการศึกษาแบบสุ่ม 7 การศึกษา ในประชากร 8 หมื่นกว่าคนพบว่าการกินวิตามินอีไม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (กลุ่มที่กินเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 11.3 กลุ่มควบคุม (ไม่ได้กิน) เกิดร้อยละ 11.1)


         ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนกินวิตามินรวม ไม่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากมะเร็งโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือการเสียชีวิต (Neuhouser ML. Arch Intern Med 2009;169:294-304) การศึกษา Women’s Health Initiative เป็นการศึกษาในหญิงอเมริกัน 1 แสน 6 หมื่นกว่าคนทั้งในการวิจัยทางคลินิกและการติดตามระยะยาวประมาณ 8 ปี พบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินวิตามินรวม ไม่ว่าจะกินวิตามินรวมเดี่ยว วิตามินรวมร่วมกับเกลือแร่ (เช่น แคลเซียม) หรือวิตามินรวมในขนาดสูง (สูงกว่าร้อยละ ๒๐๐ ของระดับที่แนะนำ) ไม่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (ที่พบบ่อย) โรคหัวใจและหลอดเลือดและไม่มีผลต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ


         คำแนะนำของสมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ปี พ.ศ.2549 (Circulation 2006;114:82-96) แม้ว่าวิตามินเม็ดหรือสารต้านอนุมูลอิสระสกัดเช่น วิตามินอี บีตาแคโรทีน ซีลีเนียม ไม่แนะนำให้กินแต่แนะนำให้กินอาหารจากพืชแทน (เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดขาว น้ำมันพืชที่มีวิตามินดังกล่าว)


หญิงวัยหมดประจำเดือน กินวิตามินดีและแคลเซียมเป็นประจำ ไม่ลดโอกาสกระดูกหัก แต่อาจเพิ่มนิ่วในไต (Jackson RD.N Engl J Med 2006;354:669-83) 
         การศึกษาหญิงวัยหมดประจำเดือนมากกว่า 36,000 คน สุ่มแบ่งให้กินวิตามินดี 400 หน่วยมาตรฐานและแคลเซียม 1 กรัมหรือกินยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 7 ปี พบว่าการกินวิตามินดีและแคลเซียมเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกสะโพกแต่ไม่ลดโอกาศกระดูกสะโพกหักและเพิ่มโอกาสเกิดนิ่วในไตประมาณร้อยละ 17 นอกจากนี้การกินวิตามินดีและแคลเซียมไม่ช่วยลดโอกาสเสียชีวิตหรือไม่ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งที่พบบ่อย ดังนั้นหญิงวัยหมดประจำเดือนไม่ควรกินแคลเซียมและวิตามินดีเสริมกระดูกควรจะตรวจมวลกระดูกก่อนว่ากระดูกบางหรือยัง 


         แล้วขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเพิ่มมวลกระดูก เช่น งดกาแฟ (ทุก ๆ 1 แก้วที่ดื่มกาแฟดึงแคลเซียมออกจากร่างกายประมาณ 40 มิลลิกรัม) งดน้ำอัดลมเปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าหรือชาชง (ใบชาชงด้วยน้ำร้อนไม่ใช่ชาขวด ชากระป๋อง อย่างที่ขายกันอยู่) หยุดยาไทรอยด์บางชนิดและให้กินกะปิ ปลาตัวเล็ก กุ้งแห้งที่มีแคลเซียมเพิ่มในอาหาร ออกกำลังกาย เดินยกน้ำหนัก เพิ่มแรงกดบนกระดูกที่บาง เพื่อกระตุ้นให้แคลเซียมไปสะสมอยู่ที่กระดูกที่ใช้งาน (ยิ่งใช้ยิ่งแข็งแรงยิ่งไม่ใช้ยิ่งเสื่อมโทรม) ตากแดดอ่อน ๆ ตอนเช้า เย็น 15 นาทีต่อวันเพื่อให้ผิวหนังสร้างวิตามินดี วิตามินดีจะเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่กิน ร้อยละ 80 ของวิตามินในร่างกายเราสร้างจากผิวหนังที่สัมผัสแสงแดดที่เหลือได้จากอาหารเช่น ไขมันปลา นม ธัญพืช ส่วนการกินแคลเซียมและวิตามินดีเสริม ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เพื่อป้องกันผลเสียในระยะยาวดังกล่าวข้างต้น

         สรุป


         "วิตามิน" เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ ในขณะเดียวกันก็เกิดโทษได้เหมือนกันการกินตาม "ธรรมชาติ" จะได้ประโยชน์มากกว่าและโทษน้อยกว่าการกินแบบ "ปรุงแต่ง" โดยสกัดเป็นเม็ดหรืออาหารเสริมวิตามินเม็ดที่มีวิตามินเอ อี และบีตาแคโรทีนเป็นส่วนประกอบควรจะหลีกเลี่ยง ไม่ควรกินในระยะยาว ส่วนการกินวิตามินดีและแคลเซียมควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้กินในระยะยาว


ที่มา : http://health.kapook.com/view13197.html

วิตามินกินตามโรค






ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=_TvOPfuViKs&feature=related

วิตามินที่ได้จากผลไม้



วิตามิน A ผลไม้กลุ่มส้ม แครอท มะเขือเทศ กะหล่ำ เซอเลอรี มะละกอ ผักขม ผัก-ผลไม้ทีมีสีส้ม – เหลือง พริกไทยสด แตงต่างๆ มะปราง มะม่วง ฟักทอง บีทรูท ยอดแค ใบยอ โหระพา ใบชะพู
วิตามิน B1 แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี สับประรด พริกไทยสด ขนุน ผักบุ้ง ผักกาดหอม
วิตามิน B2 แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี ผักกาด บร็อคโคลี ผักบุ้ง
ผักขม ผักชีฝรั่ง พริกไทยสด ขนุน
วิตามิน B3 แอสพารากัส ผักชีฝรั่ง มันฝรั่ง
วิตามิน B5 กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ส้ม เกรปฟรุต สตรอเบอรี่
วิตามิน B6 มะนาว แครอท มันฝรั่ง ลูกแพร์ ผักขม
โฟลิค เอซิด แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี ผักขม ถั่วงอก ส้ม
( Folic acid) ผักชีฝรั่ง ผักใบเขียว
วิตามิน C ผลไม้กลุ่มส้ม ผักผลไม้ เกือบทุกชนิด
วิตามิน K กะหล่ำปลี ผักขม หัวแครอท
วิตามิน E กะหล่ำปลี ถั่วงอก ผักใบเขียว ต้นลีค เมล็ดแอปเปิ้ล จมูกข้าว lettuce
ไบโอติน ผักขม ดอกกะหล่ำ ผักขม เกรปฟรุต
ไบโอฟลโวนอยด์  ผลไม้กลุ่มส้ม
คลอรอฟิล ผักใบเขียวแก่ ผักใบเขียว พริกไทยสด
แคลเซียม ผักใบเขียว – เขียวแก่ กะหล่ำปลี หัวบีท หัวผักกาด แครอท
โปตัสเซียม ส้มจีน มะนาว องุ่น ผักชีฝรั่ง ผักขม มันฝรั่ง เซอเลอรี กล้วย
ผักใบเขียว
โซเดียม หัวบีท แครอท เซอเลอรี มะเขือเทศ เชอรี ลูกท้อ
แมกนีเซียม ผักใบเขียว – เขียวแก่ มะนาว หัวบีท
ฟอสฟอรัส ส้มจีน องุ่น แครอท ผักขม กะหล่ำปี ยอดถั่ว แห้ว
ซัลเฟอร์  องุ่นแดง - ดำ ผักขม แห้ว
เหล็ก แอปริคอต เชอรี แอสพารากัส พรุน องุ่นแดง องุ่นดำ ผักขม ผักชีฝรั่ง
หัวบีท
ทองแดง ผักใบเขียว องุ่นแดง องุ่นดำ มันฝรั่ง แอสพารากัส
มังกานีส ผักใบเขียว ส้ม สับประรด แอปเปิ้ล แอปริคอต ผักขม สตรอเบอรี่
สังกะสี แครอท แอปเปิ้ล ลูกแพร์ แอสพารากัส ผักใบเขียว
โคบอลท์ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ กะหล่ำปลี แครอท หัวบีท มันฝรั่ง ผักใบเขียว
ฟลูออรีน องุ่นดำ เชอรี แครอท ผักขม
ไอโอดีน ส้ม ผักขม
ซิลิคอน องุ่น สตรอเบอรี แครอท
เซเลเนียม บร็อคโคลี หอม มะเขือเทศ ต้นหอม ต้นกระเทียม หอมใหญ่ 





ที่มา :  http://www.goodhealth.co.th/new_page_12.htm 

การกินวิตามิน




ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=WZ4ZDdcbxFA&feature=related

วิตามินกับแสงแดด


วิตามินดี กับ แสงแดด


ผู้หญิงจะรู้สึกเกรงกลัวแสงแดด เพราะรู้ดีว่าแสงแดดเป็นตัวการทำลายความงาม แถวหน้า ทำให้ผิว หมองคล้ำ เหี่ยวย่น รวมไปถึง ฝ้า กระ อีกสารพัน หากแต่หารู้ไม่ว่า การหลีกเลี่ยงแสงแดดมากเกินไป มีผลให้ร่างกายเกิดสภาวะโรคกระดูกพรุนได้ ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก กว่าจะรู้กระดูกก็เปราะบางไปเสียแล้ว
   จึงอยากให้คิดใหม่ กลับมาตระหนักถึงประโยชน์ของแสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้า ที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินดี ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพ ในการทำงานของแคลเซียม ทำให้กระดูกและฟันสมบูรณ์แข็งแรง
การสัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเช้า เพียง 10 -15 นาทีต่อวัน ก็เพียงพอ ที่จะช่วยให้ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน
   โรคกระดูกพรุนนั้น สาวๆ รุ่นใหม่ มีอัตราเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ ที่เสี่ยงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารไม่ครบถ้วน หรือละเลยการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่มีการสะสมแคลเซียมเพิ่มเติม แคลเซียมในกระดูกที่มีอยู่ ก็เสื่อมสลายตัวไปเรื่อย ๆ จนทำให้โครงสร้างกระดูกเปราะบาง และแตกหักได้ง่าย
ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายที่แตกต่างกัน
ภาวะที่เนื้อกระดูกบางลง ทำให้ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน มักมีอาการปวดหลัง หลังค่อมโก่ง ปวดตามข้อ อาจมีอาการปวดบริเวณ ที่กระดูกยุบตัวลง กระดูกเปราะ และหักง่าย ผู้สูงอายุจึงต้องระวังการหกล้ม ตำแหน่งที่มักจะเกิดภาวะกระดูกพรุน และหักง่ายคือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก
   กระดูกสันหลังของผู้หญิงอายุ 55 – 75 ปี จะเกิดการยุบตัวมากกว่าในผู้ชาย ทำให้ผู้สูงอายุเตี้ยลงกว่าตอนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงพบว่า เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี พบอัตราการเกิดกระดูกสันหลังหักยุบถึงร้อยละ 30
  กระดูกสะโพกหักมักต้องผ่าตัดรักษา กระดูกสะโพกหักอาจทำให้เดินไม่ได้หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้เปรียบเหมือนภัยมืด ค่อยเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ กว่าจะรู้ตัวก็กระดูกหักเสียแล้ว
  วิธีที่ดีที่สุดคือ "ต้องสะสมกระดูกไว้ให้มากที่สุด ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าให้แคลเซียมสูง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ"
  การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การสะสมแคลเซียมให้กับกระดูกอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นจากการรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูง อาทิ ถั่วเหลือง ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อรับแสงแดดอ่อน ๆ ที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีไปช่วยเสริมสร้างแคลเซียม
  นอกจากนี้ ไม่ควรห่วงอ้วนมากจนเกินไป ต้องรับประทานไขมันบ้าง จำพวกไขมันชนิดดี ที่พบในปลาทะเล หรือน้ำมันจากเมล็ดพืช เพราะวิตามินดีจะละลายได้ดีในไขมัน เหล่านี้นอกจากจะช่วยละลายวิตามินดีแล้ว ยังช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื่น ไม่หยาบกระด้างอีกด้วย
ถ้าต้องการความสะดวก การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยเสริมแคลเซียมให้กับกระดูกก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
  ในปัจจุบัน ถ้าใครต้องการรู้ว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุนหรือ ไม่ ต้องอาศัยเครื่องตรวจความหนาแน่นกระดูกเข้ามาช่วย โดยการทำงานของเครื่องจะเอ็กซ์เรย์มวลกระดูกบริเวณ ข้อมือ หรือ ข้อเท้า แล้วประมวลผลออกมาเป็นกราฟ ชึ้ให้เห็นสภาวะของกระดูกได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่จะมีบริการอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง






ที่มา  : http://healthylife888.blogspot.com/2009/09/blog-post_2203.html

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีดูแลผิวสวย ด้วยสูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ

วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณมาบอกคุณสาวๆ ด้วยสูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ มะละกอสุกนอกจากจะเป็นผลไม้ที่ที่อร่อยแล้ว 

ก็อย่างที่เรารู้ๆ กันดีว่ามะละกอสุกยังมีสรรพคุณเยอะแยอะมามาย เช่น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อยอาหาร สำหรับใครที่ชอบรับประทานมะละกาสุกถือว่าเป็นเรื่องดีมากๆ เพราะจะช่วยให้ท้องไม่ผูก แต่ประโยชน์ของมะละกอยังไม่หมดนะค่ะ สำหรับใครที่กำลังหาสูตรพอกหน้าธรรมชาติแบบดีๆ วันนี้เราได้นำเอา สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ มาบอกให้ได้รู้กันค่ะ สำหรับ สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ นี้เป็นวิธีทางธรรมชาติที่นอกจากจะทำให้คุณมีผิวหน้าที่สวยเนียนใสแถมปลอดภัยแล้ว สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ ยังเป็นวิธีการดูแลผิวที่สุกแสนจะประหยัดมากๆ ว่าแล้วเราก็เข้าไปทำสวยแบบประหยัดกับสูตรพอกหน้าด้วยมะละกอกันเลยดีกว่าค่ะ รับรองว่าคุณจะมีผิวหน้าที่สวยเนียใสสมดั่งใจชัวร์ค่ะ

3 สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ

1. มาส์กมะละกอสุกล้วน สูตรนี้ใช้ผลมะละกอสุกอย่างเดียวเลยค่ะมีวิตามินซีและอีสูงมากจึงช่วยขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม แค่นำเนื้อมะละกอสุกมาปั่นให้ละเอียดแล้วพอกหน้า โดยเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นจะรู้สึกผิวหน้าเต่งตึงและสดชื่นขึ้นเลยค่ะ


2. มาส์กมะละกอสุกกับข้าวโอ๊ต สูตรนี้ใช้ขัดผิวได้ดีเลยค่ะ โดยใช้มะละกอสุก 1 ผล ผสมกับข้าวโอ๊ต 3 ช้อนโต๊ะ ไข่ขาวดิบ 1 ฟอง และน้ำมะนาว 1 ลูก ปั่นรวมกัน จากนั้นนำมาพอกหน้าโดยเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้ 15-20 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น


3. มาส์กมะละกอกับน้ำผึ้ง สูตรนี้ช่วยลดกระฝ้าได้ดีแค่นำมะละกอสุกประมาณ 1 ผล ผสม น้ำผึ้ง 1 ถ้วยตวง และอัลมอนด์อีก 1/2 ถ้วยตวง ปั่นรวมกันจนละเอียด จากนั้นนำมาพอกหน้าโดยเว้นรอบดวงตา ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นค่ะ

ที่มา : http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1714&sub_id=8&ref_main_id=1