" บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม "

^______^ ขอบคุณ สำหรับการติดตาม ...

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

สมการวิตามิน





ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=YU2-2gCLL9o&feature=related

วิตามินเม็ด ปลอดภัยจริงหรือไม่ ?

วิตามินเม็ด กินทำไม ปลอดภัยจริงหรือ? (หมอชาวบ้าน)


         ถ้าลองถามผู้ที่กินวิตามินเม็ดอยู่ทุกวันว่า กินทำไมกันก็ได้รับคำตอบว่า กินแล้วรู้สึกสบายดีบ้าง กินได้นอนหลับดีบ้าง กินบำรุงให้แข็งแรงขึ้น ความจำดีขึ้นบ้าง คนโน้นบอกว่าดี คนนี้ก็บอกว่าดี เลยกินตาม ๆ กัน


         ถามต่อว่ากินอยู่ทุกวันไม่กลัวอันตรายหรือ (ทีกินยาทุกวันกลัวว่ายาจะสะสม ตับไตจะพัง) ก็มักจะได้คำตอบว่า วิตามินเม็ดทำมาจากธรรมชาติจากอาหารปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ กินอาหารได้สารอาหารไม่ครบต้องกินเสริมให้แข็งแรงป้องกันโรคกิน 1 เม็ดเท่ากับกินผักผลไม้เป็นกิโล ๆ แน่ะกินแล้วไม่เห็นเป็นไรก็สบายดีนี่


         มีการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพมากกว่า 1 การศึกษาบอกว่า วิตามินหลาย ๆ ตัวที่กินกันอยู่ไม่ได้ผลในการป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด สมองเสี่อมไม่ได้ทำให้อายุยืนยาวขึ้นหรืออื่น ๆ เราจะยังกินหรือไม่? มีการศึกษาหลายการศึกษาบอกว่าวิตามินบางตัวที่เรา ๆ ท่าน ๆ กินกันอยู่เพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ไม่ได้กินเราจะยังกินต่อหรือเปล่า?


         เราใช้ความ "รู้" หรือความ "รู้สึก" ในการบอกว่าจะกินหรือไม่กินดี
วิตามินเอ วิตามินอี และบีตาแคโรทีน อาจเพิ่มโอกาสเสียชีวิต (Bjelakovic G. JAMA 2007;842-57)


          การรวบรวมการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม (randomized trials) 68 การศึกษา จากประชาการ 2 แสน 3 หมื่นกว่าคน (ทั้งคนปกติและเป็นโรคแล้ว) เพื่อดูว่าผลของการกินวิตามินเม็ด หรือสารต้านอนุมูลอิสระสกัดต่อการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับไม่ได้กิน หรือกินวิตามินหลอก (รูปลักษณ์เหมือนวิตามินเม็ดทุกอย่าง แต่ไม่มีวิตามินอยู่เพื่อผู้ทำวิจัยเก็บข้อมูลและผู้ป่วยจะไม่ทราบ ป้องกันการลำเอียงหรืออุปาทาน ในการเลือกให้วิตามินเม็ดและการแปลผล) ถ้ารวมการศึกษาทั้งลำเอียงมากและน้อย (high and low-bias trials) ไม่พบความแตกต่างในโอกาสเสียชีวิตของผู้ที่กินหรือไม่กินวิตามินเม็ด หรือสารต้านอนุมูลอิสระสกัด 


         แต่ถ้าดูเฉพาะการศึกษาที่มีคุณภาพการศึกษาที่ดี (ความลำเอียงน้อย) 47 การศึกษาในประชากร 1 แสน 8 หมื่นกว่าคนพบว่าการกินบีตาแคโรทีนในการศึกษา 6 การศึกษาเพิ่มโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 6 (95% CI 1.01-1.11) การกินวิตามินเอเดี่ยว ๆ หรือร่วมกับอาหารเสริมอื่น ยกเว้นซีลีเนียม (5การศึกษา) เพิ่มโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 16 (95% CI 1.10-1.24) และการกินวิตามินอี (26 การศึกษา) ก็เช่นเดียวกับวิตามินเอคือเพิ่มโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 4 (95% CI 1.01-1.07)




วิตามินอีไม่ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (Vivekananthan DP, Lancet 2003;361:2017)
         ตำราโรคหัวใจเล่มล่าสุด (Braunwald’s Heart Disease) ได้ตีพิมพ์ข้อสรุปจากการศึกษาแบบสุ่ม 7 การศึกษา ในประชากร 8 หมื่นกว่าคนพบว่าการกินวิตามินอีไม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (กลุ่มที่กินเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 11.3 กลุ่มควบคุม (ไม่ได้กิน) เกิดร้อยละ 11.1)


         ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนกินวิตามินรวม ไม่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากมะเร็งโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือการเสียชีวิต (Neuhouser ML. Arch Intern Med 2009;169:294-304) การศึกษา Women’s Health Initiative เป็นการศึกษาในหญิงอเมริกัน 1 แสน 6 หมื่นกว่าคนทั้งในการวิจัยทางคลินิกและการติดตามระยะยาวประมาณ 8 ปี พบว่าหญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินวิตามินรวม ไม่ว่าจะกินวิตามินรวมเดี่ยว วิตามินรวมร่วมกับเกลือแร่ (เช่น แคลเซียม) หรือวิตามินรวมในขนาดสูง (สูงกว่าร้อยละ ๒๐๐ ของระดับที่แนะนำ) ไม่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (ที่พบบ่อย) โรคหัวใจและหลอดเลือดและไม่มีผลต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ


         คำแนะนำของสมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ปี พ.ศ.2549 (Circulation 2006;114:82-96) แม้ว่าวิตามินเม็ดหรือสารต้านอนุมูลอิสระสกัดเช่น วิตามินอี บีตาแคโรทีน ซีลีเนียม ไม่แนะนำให้กินแต่แนะนำให้กินอาหารจากพืชแทน (เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดขาว น้ำมันพืชที่มีวิตามินดังกล่าว)


หญิงวัยหมดประจำเดือน กินวิตามินดีและแคลเซียมเป็นประจำ ไม่ลดโอกาสกระดูกหัก แต่อาจเพิ่มนิ่วในไต (Jackson RD.N Engl J Med 2006;354:669-83) 
         การศึกษาหญิงวัยหมดประจำเดือนมากกว่า 36,000 คน สุ่มแบ่งให้กินวิตามินดี 400 หน่วยมาตรฐานและแคลเซียม 1 กรัมหรือกินยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 7 ปี พบว่าการกินวิตามินดีและแคลเซียมเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกสะโพกแต่ไม่ลดโอกาศกระดูกสะโพกหักและเพิ่มโอกาสเกิดนิ่วในไตประมาณร้อยละ 17 นอกจากนี้การกินวิตามินดีและแคลเซียมไม่ช่วยลดโอกาสเสียชีวิตหรือไม่ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งที่พบบ่อย ดังนั้นหญิงวัยหมดประจำเดือนไม่ควรกินแคลเซียมและวิตามินดีเสริมกระดูกควรจะตรวจมวลกระดูกก่อนว่ากระดูกบางหรือยัง 


         แล้วขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเพิ่มมวลกระดูก เช่น งดกาแฟ (ทุก ๆ 1 แก้วที่ดื่มกาแฟดึงแคลเซียมออกจากร่างกายประมาณ 40 มิลลิกรัม) งดน้ำอัดลมเปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าหรือชาชง (ใบชาชงด้วยน้ำร้อนไม่ใช่ชาขวด ชากระป๋อง อย่างที่ขายกันอยู่) หยุดยาไทรอยด์บางชนิดและให้กินกะปิ ปลาตัวเล็ก กุ้งแห้งที่มีแคลเซียมเพิ่มในอาหาร ออกกำลังกาย เดินยกน้ำหนัก เพิ่มแรงกดบนกระดูกที่บาง เพื่อกระตุ้นให้แคลเซียมไปสะสมอยู่ที่กระดูกที่ใช้งาน (ยิ่งใช้ยิ่งแข็งแรงยิ่งไม่ใช้ยิ่งเสื่อมโทรม) ตากแดดอ่อน ๆ ตอนเช้า เย็น 15 นาทีต่อวันเพื่อให้ผิวหนังสร้างวิตามินดี วิตามินดีจะเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่กิน ร้อยละ 80 ของวิตามินในร่างกายเราสร้างจากผิวหนังที่สัมผัสแสงแดดที่เหลือได้จากอาหารเช่น ไขมันปลา นม ธัญพืช ส่วนการกินแคลเซียมและวิตามินดีเสริม ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เพื่อป้องกันผลเสียในระยะยาวดังกล่าวข้างต้น

         สรุป


         "วิตามิน" เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ ในขณะเดียวกันก็เกิดโทษได้เหมือนกันการกินตาม "ธรรมชาติ" จะได้ประโยชน์มากกว่าและโทษน้อยกว่าการกินแบบ "ปรุงแต่ง" โดยสกัดเป็นเม็ดหรืออาหารเสริมวิตามินเม็ดที่มีวิตามินเอ อี และบีตาแคโรทีนเป็นส่วนประกอบควรจะหลีกเลี่ยง ไม่ควรกินในระยะยาว ส่วนการกินวิตามินดีและแคลเซียมควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้กินในระยะยาว


ที่มา : http://health.kapook.com/view13197.html

วิตามินกินตามโรค






ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=_TvOPfuViKs&feature=related

วิตามินที่ได้จากผลไม้



วิตามิน A ผลไม้กลุ่มส้ม แครอท มะเขือเทศ กะหล่ำ เซอเลอรี มะละกอ ผักขม ผัก-ผลไม้ทีมีสีส้ม – เหลือง พริกไทยสด แตงต่างๆ มะปราง มะม่วง ฟักทอง บีทรูท ยอดแค ใบยอ โหระพา ใบชะพู
วิตามิน B1 แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี สับประรด พริกไทยสด ขนุน ผักบุ้ง ผักกาดหอม
วิตามิน B2 แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี ผักกาด บร็อคโคลี ผักบุ้ง
ผักขม ผักชีฝรั่ง พริกไทยสด ขนุน
วิตามิน B3 แอสพารากัส ผักชีฝรั่ง มันฝรั่ง
วิตามิน B5 กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ส้ม เกรปฟรุต สตรอเบอรี่
วิตามิน B6 มะนาว แครอท มันฝรั่ง ลูกแพร์ ผักขม
โฟลิค เอซิด แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี ผักขม ถั่วงอก ส้ม
( Folic acid) ผักชีฝรั่ง ผักใบเขียว
วิตามิน C ผลไม้กลุ่มส้ม ผักผลไม้ เกือบทุกชนิด
วิตามิน K กะหล่ำปลี ผักขม หัวแครอท
วิตามิน E กะหล่ำปลี ถั่วงอก ผักใบเขียว ต้นลีค เมล็ดแอปเปิ้ล จมูกข้าว lettuce
ไบโอติน ผักขม ดอกกะหล่ำ ผักขม เกรปฟรุต
ไบโอฟลโวนอยด์  ผลไม้กลุ่มส้ม
คลอรอฟิล ผักใบเขียวแก่ ผักใบเขียว พริกไทยสด
แคลเซียม ผักใบเขียว – เขียวแก่ กะหล่ำปลี หัวบีท หัวผักกาด แครอท
โปตัสเซียม ส้มจีน มะนาว องุ่น ผักชีฝรั่ง ผักขม มันฝรั่ง เซอเลอรี กล้วย
ผักใบเขียว
โซเดียม หัวบีท แครอท เซอเลอรี มะเขือเทศ เชอรี ลูกท้อ
แมกนีเซียม ผักใบเขียว – เขียวแก่ มะนาว หัวบีท
ฟอสฟอรัส ส้มจีน องุ่น แครอท ผักขม กะหล่ำปี ยอดถั่ว แห้ว
ซัลเฟอร์  องุ่นแดง - ดำ ผักขม แห้ว
เหล็ก แอปริคอต เชอรี แอสพารากัส พรุน องุ่นแดง องุ่นดำ ผักขม ผักชีฝรั่ง
หัวบีท
ทองแดง ผักใบเขียว องุ่นแดง องุ่นดำ มันฝรั่ง แอสพารากัส
มังกานีส ผักใบเขียว ส้ม สับประรด แอปเปิ้ล แอปริคอต ผักขม สตรอเบอรี่
สังกะสี แครอท แอปเปิ้ล ลูกแพร์ แอสพารากัส ผักใบเขียว
โคบอลท์ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ กะหล่ำปลี แครอท หัวบีท มันฝรั่ง ผักใบเขียว
ฟลูออรีน องุ่นดำ เชอรี แครอท ผักขม
ไอโอดีน ส้ม ผักขม
ซิลิคอน องุ่น สตรอเบอรี แครอท
เซเลเนียม บร็อคโคลี หอม มะเขือเทศ ต้นหอม ต้นกระเทียม หอมใหญ่ 





ที่มา :  http://www.goodhealth.co.th/new_page_12.htm 

การกินวิตามิน




ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=WZ4ZDdcbxFA&feature=related

วิตามินกับแสงแดด


วิตามินดี กับ แสงแดด


ผู้หญิงจะรู้สึกเกรงกลัวแสงแดด เพราะรู้ดีว่าแสงแดดเป็นตัวการทำลายความงาม แถวหน้า ทำให้ผิว หมองคล้ำ เหี่ยวย่น รวมไปถึง ฝ้า กระ อีกสารพัน หากแต่หารู้ไม่ว่า การหลีกเลี่ยงแสงแดดมากเกินไป มีผลให้ร่างกายเกิดสภาวะโรคกระดูกพรุนได้ ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก กว่าจะรู้กระดูกก็เปราะบางไปเสียแล้ว
   จึงอยากให้คิดใหม่ กลับมาตระหนักถึงประโยชน์ของแสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้า ที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินดี ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพ ในการทำงานของแคลเซียม ทำให้กระดูกและฟันสมบูรณ์แข็งแรง
การสัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเช้า เพียง 10 -15 นาทีต่อวัน ก็เพียงพอ ที่จะช่วยให้ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน
   โรคกระดูกพรุนนั้น สาวๆ รุ่นใหม่ มีอัตราเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ ที่เสี่ยงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารไม่ครบถ้วน หรือละเลยการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่มีการสะสมแคลเซียมเพิ่มเติม แคลเซียมในกระดูกที่มีอยู่ ก็เสื่อมสลายตัวไปเรื่อย ๆ จนทำให้โครงสร้างกระดูกเปราะบาง และแตกหักได้ง่าย
ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายที่แตกต่างกัน
ภาวะที่เนื้อกระดูกบางลง ทำให้ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน มักมีอาการปวดหลัง หลังค่อมโก่ง ปวดตามข้อ อาจมีอาการปวดบริเวณ ที่กระดูกยุบตัวลง กระดูกเปราะ และหักง่าย ผู้สูงอายุจึงต้องระวังการหกล้ม ตำแหน่งที่มักจะเกิดภาวะกระดูกพรุน และหักง่ายคือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก
   กระดูกสันหลังของผู้หญิงอายุ 55 – 75 ปี จะเกิดการยุบตัวมากกว่าในผู้ชาย ทำให้ผู้สูงอายุเตี้ยลงกว่าตอนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงพบว่า เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี พบอัตราการเกิดกระดูกสันหลังหักยุบถึงร้อยละ 30
  กระดูกสะโพกหักมักต้องผ่าตัดรักษา กระดูกสะโพกหักอาจทำให้เดินไม่ได้หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้เปรียบเหมือนภัยมืด ค่อยเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ กว่าจะรู้ตัวก็กระดูกหักเสียแล้ว
  วิธีที่ดีที่สุดคือ "ต้องสะสมกระดูกไว้ให้มากที่สุด ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าให้แคลเซียมสูง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ"
  การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การสะสมแคลเซียมให้กับกระดูกอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นจากการรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูง อาทิ ถั่วเหลือง ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อรับแสงแดดอ่อน ๆ ที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีไปช่วยเสริมสร้างแคลเซียม
  นอกจากนี้ ไม่ควรห่วงอ้วนมากจนเกินไป ต้องรับประทานไขมันบ้าง จำพวกไขมันชนิดดี ที่พบในปลาทะเล หรือน้ำมันจากเมล็ดพืช เพราะวิตามินดีจะละลายได้ดีในไขมัน เหล่านี้นอกจากจะช่วยละลายวิตามินดีแล้ว ยังช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื่น ไม่หยาบกระด้างอีกด้วย
ถ้าต้องการความสะดวก การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยเสริมแคลเซียมให้กับกระดูกก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
  ในปัจจุบัน ถ้าใครต้องการรู้ว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุนหรือ ไม่ ต้องอาศัยเครื่องตรวจความหนาแน่นกระดูกเข้ามาช่วย โดยการทำงานของเครื่องจะเอ็กซ์เรย์มวลกระดูกบริเวณ ข้อมือ หรือ ข้อเท้า แล้วประมวลผลออกมาเป็นกราฟ ชึ้ให้เห็นสภาวะของกระดูกได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่จะมีบริการอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง






ที่มา  : http://healthylife888.blogspot.com/2009/09/blog-post_2203.html

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีดูแลผิวสวย ด้วยสูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ

วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณมาบอกคุณสาวๆ ด้วยสูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ มะละกอสุกนอกจากจะเป็นผลไม้ที่ที่อร่อยแล้ว 

ก็อย่างที่เรารู้ๆ กันดีว่ามะละกอสุกยังมีสรรพคุณเยอะแยอะมามาย เช่น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อยอาหาร สำหรับใครที่ชอบรับประทานมะละกาสุกถือว่าเป็นเรื่องดีมากๆ เพราะจะช่วยให้ท้องไม่ผูก แต่ประโยชน์ของมะละกอยังไม่หมดนะค่ะ สำหรับใครที่กำลังหาสูตรพอกหน้าธรรมชาติแบบดีๆ วันนี้เราได้นำเอา สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ มาบอกให้ได้รู้กันค่ะ สำหรับ สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ นี้เป็นวิธีทางธรรมชาติที่นอกจากจะทำให้คุณมีผิวหน้าที่สวยเนียนใสแถมปลอดภัยแล้ว สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ ยังเป็นวิธีการดูแลผิวที่สุกแสนจะประหยัดมากๆ ว่าแล้วเราก็เข้าไปทำสวยแบบประหยัดกับสูตรพอกหน้าด้วยมะละกอกันเลยดีกว่าค่ะ รับรองว่าคุณจะมีผิวหน้าที่สวยเนียใสสมดั่งใจชัวร์ค่ะ

3 สูตรพอกหน้าด้วยมะละกอ

1. มาส์กมะละกอสุกล้วน สูตรนี้ใช้ผลมะละกอสุกอย่างเดียวเลยค่ะมีวิตามินซีและอีสูงมากจึงช่วยขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม แค่นำเนื้อมะละกอสุกมาปั่นให้ละเอียดแล้วพอกหน้า โดยเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นจะรู้สึกผิวหน้าเต่งตึงและสดชื่นขึ้นเลยค่ะ


2. มาส์กมะละกอสุกกับข้าวโอ๊ต สูตรนี้ใช้ขัดผิวได้ดีเลยค่ะ โดยใช้มะละกอสุก 1 ผล ผสมกับข้าวโอ๊ต 3 ช้อนโต๊ะ ไข่ขาวดิบ 1 ฟอง และน้ำมะนาว 1 ลูก ปั่นรวมกัน จากนั้นนำมาพอกหน้าโดยเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้ 15-20 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น


3. มาส์กมะละกอกับน้ำผึ้ง สูตรนี้ช่วยลดกระฝ้าได้ดีแค่นำมะละกอสุกประมาณ 1 ผล ผสม น้ำผึ้ง 1 ถ้วยตวง และอัลมอนด์อีก 1/2 ถ้วยตวง ปั่นรวมกันจนละเอียด จากนั้นนำมาพอกหน้าโดยเว้นรอบดวงตา ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นค่ะ

ที่มา : http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1714&sub_id=8&ref_main_id=1

วิตามินบำรุงผิว เลือกอย่างไร

 เคยสังเกตุไหมค่ะว่า ครีมบำรุงต่างๆมักอ้างสรรพคุณในการบำรุงด้วยการใส่สารพัด วิตามิน ที่จะช่วยให้ผิวของคุณผู้หญิง สวย ขาว ใส ไร้ริ้วรอย แต่จริงๆแล้ววิตามิน 
สารบำรุงผิวมีข้อดีที่แตกต่างและชัดเจนในเรื่องการบำรุงผิวค่ะ ชวนคุณผู้หญิงอ่านกันค่ะปัญหาผิวของผู้หญิงคงมีมากมายต่างๆนานา แต่เราสามารถ แก้ไขได้ด้วยวิตามิน ค่ะ เพราะจริงๆแล้วสารสกัดจากธรรมชาติ ก็มีวิตามินที่แฝงอยู่เพียวแต่ว่าเราเลือกใช้วิตามินตรงกับปัญหาสุขภาพผิวจริงๆหรือไม่ วันนี้ 108 health เรามี เชี่ยวชาญด้านผิวของฮออลลีวูดจะมาแนะวิธีเลือกใช้วิตามิน เพื่อให้ผิวคุณผู้หญิงมีผิวที่สวย ใส ขาว ไร้ริ้วรอย เรียกได้ว่าผิวสวยสมบูรณ์แบบค่ะ
  • หากคุณมีปัญหารอยจาง ๆ บนใบหน้าหรือรอยย่นของวัย 
เลือกใช้ : วิตามินเอ
นอกจากการเลือกใช้เครื่องสำอาง เพื่ออำพรางริ้วรอยต่าง ๆ ของวัยแล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอล หรือ เรตินเอ ซึ่งเป็น วิตามินเอชนิดหนึ่ง ก็สามารถลดริ้วรอยจาง ๆ ของผิวได้ โดยมีผลการ วิจัยจาก วารสารของสมาคมแพทย์ผิวหนังของสหรัฐ ล่าสุด ยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอลเอ ในปริมาณเพียง 1 % ก็เพียงพอ ที่จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้โครงสร้างของผิวมีความ ยืดหยุ่นดีขี้น และช่วยลดริ้วรอยของวัยได้ แต่เครื่องสำอางโดยทั่วไป มักมี เรตินอลเอ ในปริมาณ 0.05-0.5 % จึงอาจทำให้เห็นผลได้ช้าขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงควรตรวจสอบว่า มีเรตินอลเอ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่
  • หากคุณมีปัญหาผิวบอบบาง แพ้ง่าย
เลือกใช้ : วิตามินบี 3
สำหรับคนที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย แพทย์ผิวหนังส่วนใหญ่จะไม่แนะนำให้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ประเภท glycolic , salicylic acid รวมทั้ง AHA เพราะผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะค่อนข้างรุนแรงต่อผิว และอาจทำให้เกิดปัญหาการแพ้ได้มากขึ้น Zoe Draelos แพทย์ผิวหนังจากมหาวิทยาลัย เวค ฟอเรส ในนิวยอร์ค แนะนำให้ผู้ที่ มีปัญหาผิวบอบบาง แพ้ง่าย ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินบี 3 หรือ ไนอาซิน (niacin) ซึ่งจะมีความเป็นกรดต่ำ จึงทำให้ระคายเคืองต่อผิว ได้น้อยกว่า
  • หากคุณมีปัญหาผิวพรรณจากแสงแดด (กระ ฝ้า และริ้วรอย)
เลือกใช้ : วิตามินซี
มีผลการศึกษาที่ลงพิมพ์ในวารสาร the Journal of Applied Cosmetology ระบุว่า วิตามินซี มีผลดีต่อผิวโดยทำหน้าที่เหมือน สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสีของแสงแดด รวมทั้งมลภาวะต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิด กระ จุดด่างดำบนผิวหน้า รวมทั้ง อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่อย่างไรก็ตาม การจะได้ผลิตภัณท์ที่มี ส่วนผสมของวิตามินซี ให้ได้ผลนั้น ลิตภัณฑ์ดังกล่าว ควรมีวิตามินซี ผสมอยู่ในปริมาณ 10 % หรือสูงกว่า และควรใช้ทุกวันก่อนออกจากบ้าน เหมือนกับการใช้ครีมป้องกันแดด
  • หากคุณมีปัญหาผิวแห้ง หรือผิวหยาบกร้าน
เลือกใช้ : วิตามินบี 5 หรือวิตามินอี
วิตามินทั้งสองชนิดนี้ มักจะรู้จักดีว่า เป็นเสมือนสารมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว แต่วิตามินอียังทำหน้าที่เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ได้ดีอีกด้วย แต่ผลการวิจัยจาก มหาวิทยาลัยไมอามี เมื่อเร็ว ๆนี้ ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินที่มีขายกันในตอนนี้ ยังไม่มี ผลดีต่อการลดริ้วรอย แพทย์ผิวหนังจึงแนะนำให้ใช้วิตามิน เพื่อเพิ่ม ความชุ่มชื้นให้แก่ผิวมากกว่าที่จะหวังผลในด้านช่วยลดริ้วรอยของวัย
  • หากคุณมีปัญหารอยคล้ำใต้ตา
เลือกใช้ : วิตามินเค เรตินอลเอ หรือวิตามินซี
ปัญหารอยคล้ำใต้ตานั้น บางครั้งก็ไม่ได้เกิดจากการอดนอนเสมอไป เพราะอาจจะมีสาเหตุมาจากการเป็น โรคภูมิแพ้ การขยี้ตาบ่อย ๆ สูบบุหรี่ หรือจากกรรมพันธุ์ก็ได้
วิตามินเค จะช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงทำให้สีผิว บริเวณนี้หายคล้ำลงได้ และมีผลการวิจัยล่าสุด พบว่า การใช้วิตามินเค 1 % ผสมกับ เรตินอลเอ ปริมาณ 0.15 % จะมีผลดีต่อการลดรอยคล้ำ ใต้ตาได้อย่างชัดเจนขึ้น แต่ก็อาจจะเกิดปัญหาระคายเคืองได้บ้าง Jeffrey Blumberg ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Tufts บอกว่า วิตามินซี ก็ช่วยแก้ปัญหารอยคล้ำใต้ตาได้ดีเช่นกัน
แม้ว่าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของวิตามินต่าง ๆ จะช่วยแก้ปัญหา ของผิวพรรณได้ก็ตาม  การรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้คุณได้รับวิตามินสำคัญ ๆ ที่ร่างกาย ต้องการอย่างครบถ้วน ก็การันตีได้ว่า คุณผู้หญิง จะมีสุขภาพแข็งแรง และย่อมจะมีผลดีต่อผิวพรรณในระยะยาวอีกด้วย 

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารเสริมบำรุงผิว

       คุณสมบัติดังกล่าวที่มีอยู่ในอาหารเสริมเพื่อผิวสวยชั้นนำทรงประสิทธิภาพ ให้ผลลัพธ์ที่ดีและรวดเร็วกว่าในการลดริ้วรอยหมองคล้ำเหี่ยวย่น พร้อมกับบำรุงผิวให้ขาวเนียน เปล่งปลั่ง กระจ่างใส ดูอ่อนวัย มีชีวิตชีวาอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน สารอาหารสำคัญที่มีคุณค่าจำเป็นต่อการบำรุงผิวครบถ้วนทั้ง 6 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น

 1. โปรตีนจากปลาทะเลลึก (Marine Protein)
แถบประเทศนอร์เวย์ประกอบด้วยอณูอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย 18 ชนิด และมีอณูอะมิโนชนิดพิเศษคือ Peptoaminoglycan ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอิลาสตินทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอันจะช่วยให้ผิวแต่งตึง เปล่งปลั่ง กระชับ เรียบเนียน และนวลนุ่มชุ่มชื่น

 2. โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q 10)
สารอาหารช่วยเสริมพลังงานให้กับเซลล์ผิวต้านอนุมูลอิสระต้นเหตุของการเสื่อมสภาพและแก่ก่อนวัยของเซลล์ต่าง ๆ ทั้งยังช่วยลดและชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยที่เกิดจากแสงแดดช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์สดใสมีชีวิตชีวา

 3. สารสกัดจากเปลือกสนมาริไทม์ฝรั่งเศส (French Maritime Pine Bark) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างยิ่งยวด (Super Antioxidant) ช่วยต้านความชราของผิวพรรณยับยั้งการเกิดเม็ดสีที่ผิดปกติต้นเหตุของฝ้า กระ ความหมองคล้ำ ทำให้ผิวขาวเนียนสดใส และมีเลือดฝาด


 4. วิตามินซี (Vitamin C)
สารต้านอนุมูลอิสระลดอาการหมองคล้ำ ความร่วงโรย เสริมสร้างปริมาณและความแข็งแรงของคอลลาเจน ช่วยให้โครงสร้างผิวพรรณแข็งแรงสุขภาพดีมีความยืดหยุ่นกระชับและขาวเนียนใส

 5. วิตามินอี (Vitamin E)
สารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวหนึ่งยับยั้งความเสื่อมชราของเซลล์ต่าง ๆ ช่วยให้ผิวพรรณเนียนนุ่มชุ่มชื่น สดใสและดูอ่อนวัย

6. สารสกัดจากชาเขียว (Green Tea Extract) มีสาระสำคัญคือ คาเตซินช่วยต้านอนุมูลอิสระทำให้กลไกในการฟื้นฟูสภาพผิวทำงานได้ดีสามารถขับถ่ายและล้างพิษออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น


ที่มา : http://www.n3k.in.th

วิตามิน : มากเกินไปอาจเป็นอันตราย

       คนส่วนใหญ่จะกินอาหารเสริมประเภทวิตามินด้วยความเชื่อว่าจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น แต่นักวิจัยไม่ได้ระบุว่าวิตามินสามารถป้องกันโรคต่างๆได้หากเราบริโภคเป็นจำนวนมาก วงการแพทย์ในปัจจุบันยังเป็นห่วงด้วยว่า ถ้ามีคนบริโภควิตามินในปริมาณมากเกินไป เป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะได้รับวิตามินและเกลือแร่บางชนิดในขนาดสูงเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ดังนั้นเราควรบริโภคให้พอเหมาะกับที่ร่างกายเราต้องการ วิตามินที่สำคัญที่เราควรบริโภคมีดังนี้

๑.วิตามินเอ ส่วนมากพบมากในตับ และอยู่ในนมบ้างเล็กน้อย(บางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผสมในเนยเทียม) ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า"อาหารที่ผสมวิตามินรวมบางชนิด เช่น ธัญพืช อาจมีวิตามินเอมากเกินไป" วิตามินเอแตกต่างจากวิตามินซีตรงที่วิตามินซีละลายในน้ำและถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ แต่วิตามินเอจะสะสมอยู่ในร่างกายหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ผู้ที่ได้รับวิตามินเอในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

๒.วิตามินซีและอี วิตามินสองชนิดนี้มีผู้นิยมกินกันมาก ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าถ้ากินเข้าไปมากๆจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายแต่ความจริงแล้วถ้าเรากินวิตามินทั้งสองชนิดนี้เข้าไปในปริมาณมากมีโอกาสเป็น "โรคเส้นโลหิตในสมอง"

๓.ธาตุเหล็ก มีความสำคัญต่อการลำเลียงออกซิเจนสู่กระแสเลือด การสร้างพลังงานและภูมิต้านทาน แหล่งอาหาร ตับ เนื้อสัตว์ ถั่ว ธัญพืชที่มีการเสริมธาตุเหล็ก ผักใบเขียวเข้มผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการชีวะเกลือแร่แห่งมหาวิทยาลัยทัฟต์ บอกว่าผู้ที่มีธาตุเหล็กสูงเกินไปมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ

๔.วิตามินบี 6 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างโปรตีน ฮอร์โมนและเซลล์เม็ดเลือดแดง แหล่งอาหาร เนื้อไก่ กล้วย ถั่วเหลือง เนื้อปลา นม ข้าวซ้อมมือ ตับและมันฝรั่ง

๕.เบตาแคโรทีน เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ แหล่งอาหาร ผักใบเขียวและผลไม้ที่เป็นสีเหลือง

๖.ทองแดง เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจนโปรตีนในกระดูก ผิวหนังและเนื้อเยื่อข้อต่อ แหล่งอาหาร ถั่ว เครื่องในสัตว์และสัตว์น้ำที่มีเปลือก(เช่น กุ้ง หอย ปู)

๗.สังกะสี มีความสำคัญต่อระบบทำงานต่างๆมากมาย เช่น การเติบโตของเซลล์และระบบภูมิต้านทาน แหล่งอาหาร เนื้อปลา เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลัตภัณฑ์จากธัญพืชต่างๆและผักใบเขียว



วิตามินดี

วิตามินดี

 (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี


ประโยชน์ต่อร่างกาย
  1. วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
  2. วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึมกลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
  3. ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
  4. ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้เพราะมิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
  5. เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
  6. ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
  7. เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
  8. เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
  9. หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับการมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย






น้ำสมุนไพร

ผลไม้ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

วิตามินซี

วิตามินซี 








(อังกฤษvitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษL-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษL-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้


ประโยชน์

  • เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
  • ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
  • ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยคลายเครียด
  • การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามินอาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้ 


แหล่งวิตามินซี
แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก
ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสียอ
บางข้อมูลแนะนำว่าขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง


วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12  (COBALAMIN) 




ร่างกายต้องการ วิตามินบี 12  สำหรับการสังเคราะห์ RNA DNA และการเจริญเติบโตตามปรกติของเม็ดเลือดแดง  วิตามินบี 12  มีผลต่อการดูดซึมและการใช้โฟเลทในร่างกาย สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ไม่ทนต่อกรด หรือด่างแก่และแสง อาหารที่มีวิตามิน บี12 ได้แก่ ตับ ไต เนื้อ เนื้อหมู ปลาเค็ม ปลาหมึก น้ำปลา เนื้อแกะ ปลาเนื้อขาว หอย ไข่ นม เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต รำข้าว ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เมล็ดแห้ง ถั่วหมัก (ถั่วเน่า) เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว และผักใบสีเขียวแก่ แต่มีมากใน ไต กล้าม เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารพวกนม เนย และเป็นที่น่าสังเกตว่า วิตามินชนิดนี้จะพบในสัตว์มากกว่าในพืช วิตามิน บี12เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฎิกิริยาการสังเคราะห์ DNA (Deoxyribonycleic Acid) , วิตามินบี 12  มีความเกี่ยวพันธ์ในการทำงานใกล้ชิดกับกรดอะมิโน กรดแพนโทเธ็นทิคและวิตามิน ซี มีความจำเป็นสำหรับสร้างเม็ดโลหิตแดง ,เป็นสิ่งจำเป็นในการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต , ช่วยทำให้เหล็กทำงานได้ดีขึ้นในร่างกาย , ช่วยการสังเคราะห์เมไทโอนีน และโคลีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับ (Lipotropic Factors)ช่วยในการนำวิตามิน เอ ไปไว้ที่ตามเนื้อหนังของร่างกาย ,ช่วยให้มีความกระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า, มีหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน ซึ่งช่วยในการรักษาสภาพของแผ่นพังผืด ที่เป็นชั้นห่อเส้นประสาท (Myelin Sheet) , ทำหน้าที่เก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ,ทำหน้าที่ละลายพิษของสารไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นยาพิษอย่างแรง อาจพบในอาหารและบุหรี่ ถ้าขาดวิตามิน บี12 ทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงสาเหตุส่วนใหญ่จะเนื่องมาจากการที่ร่างกาย ไม่สามารถดูดวิตามินได้ , ปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งมีผลต่อการขนส่งและการดูดซึมวิตามิน , บุคคลที่รับประทานอาหารมังสวิรัตที่เคร่งครัด , การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออก การเป็นโรคท้องเสียเรื้อรัง หรือเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้เสื่อม ทำให้มีการดูดซึมผิดปกติได้ ถ้าได้รับวิตามิน บี12 มากจะกระตุ้นการสลายตัวของกรดนิวคลีอิก ทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้น จึงควรระวังในผู้ป่วยโรค gout





 ประโยชน์ต่อร่างกาย
          o ใน ไขกระดูก  วิตามินบี 12  จะมีหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฎิกิริยาการสังเคราะห์ DNA (Deoxyribonycleic Acid) เพราะถ้าไม่มีการสังเคราะห์ DNA เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงจะไม่เกิดการแบ่งเซลล์แต่จะขยายใหญ่ขึ้น กลายเป็นเซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Megaloblast) และจะถูกส่งเข้าสู่กระแสโลหิตแทนที่จะเป็นเม็ดเลือดแดงที่ปกติ
          o  วิตามินบี 12  มีความเกี่ยวพันในการทำงานใกล้ชิดกับกรดอะมิโน กรดแพนโท เธ็นทิคและวิตามิน ซี มีความจำเป็นสำหรับสร้างเม็ดโลหิตแดง
          o เป็นสิ่งจำเป็นในการเมแทบอลิซัมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
          o ช่วยทำให้เหล็กทำงานได้ดีขึ้นในร่างกาย
          o ช่วยการสังเคราะห์เมไทโอนีน และโคลีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในตับ (Lipotropic Factors)
          o มี ฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก Underdeveloped และ Undernourished เด็กพวกนี้มักขาด วิตามินบี 12  และวิตามินอย่างอื่นด้วย เมื่อให้ วิตามินบี 12 จะเพิ่มความอยากอาหาร กินอาหารได้มากขึ้น แต่ในเด็กที่เจริญเติบโตเป็นปกติไม่ขาดวิตามินนี้ การให้ วิตามินบี 12 จะไม่มีผล
          o ช่วยในการนำวิตามิน เอ ไปไว้ที่ตามเนื้อหนังของร่างกาย โดยการช่วยการดูดซึมแคโรทีน และการเปลี่ยนแคโรทีนเป็นวิตามิน เอ
          o ช่วยให้มีความกระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า
          o มีหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน ซึ่งช่วยในการรักษาสภาพของแผ่นพังผืด ที่เป็นชั้นห่อเส้นประสาท (Myelin Sheet)
          o ทำหน้าที่เก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ
          o ทำหน้าที่ละลายพิษของสารไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นยาพิษอย่างแรง อาจพบในอาหารและบุหรี่


    แหล่งที่พบ
          o ตับ ไต เนื้อ เนื้อหมู ปลาเค็ม ปลาหมึก น้ำปลา เนื้อแกะ ปลาเนื้อขาว หอย ไข่ นม เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต รำข้าว ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เมล็ดแห้ง ถั่วหมัก (ถั่วเน่า) เต้าเจี๊ยว ซีอิ๊ว และผักใบสีเขียวแก่ แต่มีมากใน ไต กล้าม เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารพวกนม เนย และเป็นที่น่าสังเกตว่า วิตามินชนิดนี้จะพบในสัตว์มากกว่าในพืช









ที่มา : http://www.nutritionthailand.com/nutrition

การทำน้ำข้าวกล้อง





ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=81fJZaotxRM

วิตามินบี 6


  • วิตามิน บี มีส่วนประกอบที่สำคัญ ชนิด คือ ไพริดอกซีน (Pyridoxine) ไพริดอกซาล (Pyridoxal) และไพริดอกซามัน (Pyridoxamine) มีสูตรโครงสร้างประกอบด้วยวงแหวนไพริดิน (Pyridine)วิตามิน บีหก ถ้าทำให้เป็นผลึกจะเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น มี รสเค็ม ละลายในน้ำได้ และละลายในสารละลายที่เป็นกรดและด่างปานกลาง แต่สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดด ไพริดอกซีน ทนต่อความร้อนมากกว่าไพริดอกซาลและไพริดอกซามิน วิตามิน บีจัดอยู่ในวิตามินประเภทละลายในน้ำ (Water- Soluble) เป็นสมาชิกสำคัญของวิตามิน บีรวม (B Complex) วิตามิน บีคงทนต่อความร้อนได้ดี และประมาณ 60 % ของวิตามิน บีในเลือดอยู่ในรูปของ Pyridoxal phosphate (PLP) เป็นโคเอนไซม์ที่ช่วยในปฎิกิริยาการเมแทบอลิซึม ของกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และกรดไขมันในร่างกาย 
ประโยชน์ต่อร่างกาย
  • เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้การดูดซึมของวิตามิน บี12 เข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ และสมบูรณ์
  • Decarboxylation ของกรดอะมิโนหรือเมตาบอลิซึมของไขมันและ กรดนิวคลิอิค (Nucleic acid)
  • ช่วยวิตามิน เอฟ (Linoleic acid หรือ Unsaturated fatty acid) ปฎิบัติหน้าที่ดีขึ้น
  • วิตามิน บีหก นี้เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ที่สำคัญตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เผาผลาญ และใช้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • การสร้างเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมน ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีผลต่อการควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อ
  • การสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนเฟอร์ไฟริน (porphyrinring) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเฮโมโกลบิน
  • การสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดกลูทามิก กรดแอสพาร์ทิก ในตับโดยอาศัยปฎิกิริยาเคลื่อนย้ายหมู่อะมิโน (Transamination)
  • ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดโลหิตแดง
  • ช่วยในการปล่อยน้ำตาล (Glycogen) จากตับและกล้ามเนื้อออกมาเป็นพลังงาน
  • ช่วนในการเปลี่ยนทริพโตฟาน (Tryptophan) เป็นไนอะซินหรือวิตามิน บีสาม
  • วิตามิน บีหก เป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์ และควบคุมการปฎิบัติหน้าที่ของ DNA และ RNA ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบ่งบอกพันธุกรรม
  • ช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
  • ป้องกันการคลื่นไส้ระหว่างตั้งครรภ์
  • มีผลในการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่าง ๆ โรคหัวใจ และเบาหวาน
  • มีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ป้องกันอาการตื่น และไม่สงบของประสาท นอนไม่หลับ
  • มีคุณสมบัติเป็นยาขับปัสสาวะธรรมชาติ
  • ช่วยลดอาการบวมในระยะก่อนมีประจำเดือน
แหล่งที่พบ
  • เมล็ดพืช เมล็ดพืชชั้นในทั้งหลาย เช่น เมล็ดแอพริคอท เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ เมล็ดถั่วอัลมอนด์และจำพวกเมล็ดพืชอื่นๆเช่น เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว และถั่วแมคคาดาเมีย